คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 27 กรกฎาคม 2555

     วันนี้อาจารย์ติดธุระ เลยให้อาจารย์บาสเป็นคนประเมินให้คะแนน อาจารย์บาสให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่ตัวเองได้รับหมอบหมาย จากนั้นอาจารย์ก็สรุปพฤติกรรมเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรบ้าง และประโยชน์ของนิทาน พร้อมกับคำแนะนำดีดี


          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือ
ที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดย รู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป
 เด็กอายุ 0 - 1 ปี
           นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และ เขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้ เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ลูกด้วย
 เด็กอายุ 2 - 3 ปี

              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควร เป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก
  หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และ ประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
             • ประโยชน์ ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหา และลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า






วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6


วันที่ศุกร์ที่  20 กรกฎาคม 2555



            อาจารย์สั่งงานโดยให้นักศึกษาจัดแบ่งกลุ่มออกเป็น 11 กลุ่มเพื่อที่จะไปเล่านิทานให้น้องที่สาธิตฟัง
และส่งตัวแทนออกมาจับฉลาก ซึ่งจะมี 
นิทานเล่มเล็กจะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3 และชั้นประถม1
นิทานเล่มใหญ่จะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3 และชั้นประถม1
VDO จะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 และอนุบาล3
         ให้แต่ละกลุ่มไปเล่นนิทานตามที่ตนจับฉลากได้ ไปเล่าให้น้องๆอยู่ในโรงเรียนสาธิตฟัง จากนั้นให้สังเกตุพฤติกรรมและให้จดบันทึกอย่างระเอียดเกี่ยวกับลักษณะท่าทางการแสดงออกทางภาษาของเด็ก และเมื่อเล่าจบให้ลองถามเด็กเกี่ยวกับนิทานที่เล่าให้ฟังเพื่อที่เราจะดูพัฒนาการของเด็ก หรือขณะที่เล่าอาจจะให้เด็กๆมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และนำผลที่ได้มาเสนอในสัปดาห์ต่อไป
          โดยกลุ่มของดิฉันได้ นิทานเล่มใหญ่เรื่อง  "มดน้อยอดออม" โดยเล่าให้น้องอนุบาล 2 ฟัง ซึ่งจะมีภาพบรรยากาศตอนเล่าด้านล่างนี้







วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5


วันที่ 13 กรกฎาคม 2555

      เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอพัฒนาการทางด้านภาษาของแต่ละช่วงวัยที่อาจารย์มอบหมายให้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งหมดมีอยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้

          กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 4 ขวบ 
          กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 3 ขวบ
          กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 2 ขวบ
          กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 6 ขวบ
          กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 9-11 ขวบ

ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเเสนอ เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ
พัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ขวบ
        ภาษาพูดโดยเฉลี่ยของเด็กวัยนี้มักจะเป็นประโยคสั้นๆ หรือบางคนสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ คล้ายเล่าเรื่อง เนื่องจากเด็กพัฒนาการทางสังคมมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรค่อยๆ สอนให้ลูกรู้จักการใช้ภาษาพูดหรือวิธีการสื่อสารกับผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม เช่น การพูดทักทาย พูดบอกความต้องได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ขอเล่นด้วย หรือแม้แต่บอกปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ต้องการ กล่าวขอบคุณ หรือขอโทษ เป็นต้น แม้เขาจะยังไม่เข้าใจนัก แต่จะช่วยให้มีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี
อายุ 2 ขวบ
    เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
นอกจากนี้ เริ่มพูดคำ 2 คำเชื่อมต่อกัน ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการด้านไวยากรณ์ของภาษา
พัฒนาการของการพูดเป็นคำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในระยะ 1 ½ 2 ปี นั่นคือประมาณ 100-200 คำ
เด็กส่วนใหญ่จะสามารถพูดคุยรู้เรื่องแล้ว  พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาของเด็กจะมีความเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงสามารถเข้าใจคำสั่งยาวๆ ที่มากกว่า 1 ขั้นตอนได้ 






วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

      วันศุกร์ ที่ 6 กรกฎาคม 2555


           วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำงานไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม
แล้วกลับมานำเสนอในวันศุกร์หน้า ให้นักศึกษาทุกกลุ่มเตรียมพร้อม ว่างานนั้นต้องเพิ่มอะไรบ้าง
หาจุดเด่นให้กับงานตัวเอง ทำให้เพื่อนสนใจและสะดุดตา