คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15

                                          วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555


        วันนี้อาจารย์จินตนาให้นักศึกษาไปตรวจ
ความเรียบร้อยของ Blogger ของตัวเอง เพื่อให้นักศึกษากลับไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม ให้สวยงาม เนื้อหาครบถ้วน หาจุดเด่น จุดสนใจให้กับผลงาน


วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555 


      อาจารย์ให้กลุ่มนักศึกษาที่ยังไม่ร้องเพลงออกไปร้องเพลงหน้าห้องให้ครบทุกกลุ่ม จากนั้นก็ให้นักศึกษาออกมาเล่านิทานตามที่ได้จับฉลากไป ระหว่างที่เล่าอาจารย์ก็บันทึกเป็นวิดีโอเก็บไว้เพื่อเป็นผลงานของนักศึกษา ส่วนกลุ่มดิฉันได้เล่านิทานแบบ เล่าไปตัดไป เรื่อง พระจันทร์ไม่มีเพื่อน






นิทานทั้งหมดที่เพื่อนๆออกมานำเสนอมีดังนี้

เล่าไปฉีกไป


1. ช้าง


2. เจ้าแกะกับดวงอาทิตย์


3. เจ้ากบน้อยแสนซน

เล่าไปวาดไป


1. เจ้าแมวน้อย


2. คุณตากับคุณยาย


3. ความสุขของคุณยาย


4. อาทิตย์ยิ้มแฉ่ง


5. ตุ้งแช่จอมซน

เล่าเกี่ยวกับเชือก


1. กระต่ายเพื่อนเกลอ


2. ครอบครัวแสนสุ


3. ผีเสื้อ


4.เจ้างูน้อยกับเถาวัลย์

เล่าไปตัดไป


1. เบสไปทะเล


2. พระจันทร์ไม่มีเพื่อน

เล่าไปพับไป


1. เจ้าแสนซน


2. พับเป็นนก


3. น้องมดอยากไปเที่ยวทะเล


4. แพวิเศษ


5. ยักษ์วิเศษ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13

                   วันศุกร์ ที่ 7 กันยายน 2555

      วันนี้อาจารย์แจกสี colleen 1 กล่องกับแผ่นประดิษฐ์อักษรพยัญชนะไทย 44 ตัว หนึ่งแผ่น อาจารย์ได้สรุปเรื่องของภาษาของเด็กเริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์การใช้ภาษาของเด็กแต่ละวัย อาจารย์ยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ส่งเสิรมทางด้านภาษา อาทิ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย  รวมทั้งพูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษา อาทิ รูปภาพ นิทาน บัตรคำ และเน้นถึงความสำคัญของการส่งเสิรมทางภาษาทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การฟังเทป แผ่นเสียง  ด้านการพูดคือ ให้เด็กเล่นหุ่นมือ ด้านการอ่าน นำหนังสือนิทานมาให้เด็กอ่าน และด้านการเขียน คือเตรียมกระดาษแผ่นเล็กพร้อมดินสอเอาไว้ ให้เด็กๆได้ฝึกเขียน













วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันศุกร์ ที่ 31 สิงหาคม 2555


    อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาร้องเพลงพร้อมทำท่าประกอบเพลง สอนเพื่อนๆร้องเพลงของตัวเอง ซึ่งเพลงของกลุ่มดิฉันชื่อ 

ท้องฟ้าแสนงาม


โอ้ท้องฟ้าแสนงาม   ดูสีครามสดใส

   มองเห็นดอกไม้ สวยงามจริง สวยงามจริง

เมื่อตะวันตกดิน ตะวันตกดิน ตะวันตกดิน

เห็นดวงจันทร์อยู่บนฟ้า  เห็นหมู่ดารา

เคียงคู่พระจันทร์ เคียงคู่พระจันทร์

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึการเรียการสอนครั้งที่ 11


วันศุกร์ ที่ 24 สิงหาคม 2555

     วันนี้อาจารย์เปิดเพลง เกาะสมุยให้นักศึกษาฟัง แล้วนักศึกษาวิเคราะห์ว่าเนื้อหาในเพลงนั้นกล่าวถึงอะไร วัตถุประสงค์ของเพลง ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร



งวงยาวของช้างอัลเฟรด



 อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร

ข้อคิด

 1.แม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
  2. การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ

 3.เด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ




วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

                             
                               วัน อาทิตย์ ที่ 19 สิงหาคม 2555


           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาหาสิ่งที่ตัวเองรักและหวงมากที่สุดมา 1 อย่าง และบอกเหตุผลว่าทำไมถึงชอบ  ซึ่งสิ่งที่ดิฉันหวงมากที่สุดคือ บัตรประชาชน





     เหตุผลก็คือ  ถ้าเราไม่มีบัตรประชาชนเราก็ไปไหนไม่ได้  ทำอะไรก็ไม่สะดวกด้วยและมันก็เป็นสิ่งที่ดิฉันนำติดตัวตลอดเวลา

อาจารย์ให้นักศึกษา โฆษณาสินค้า 1 อย่าง



      หนังสือญี่ปุ่น ฟังไปพูดไป ง่ายนิดเดียวนี้ ดีภาษาเป็นธรรมชาติคล้ายกับเงาเสียง เพียงแต่คุณซื้อวันนี้แถมฟรี CD อีก 1 แผ่น

นักศึกษาวาดภาพแทนคำพูด


แมว+น้ำ = แมวน้ำ

    ให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้แล้วนำภาพที่วาด มารวมกับเพื่อนในแถวแล้วแต่งเป็นประโยค




วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

   วันศุกร์ ที่  17 สิงหาคม 2555

             ไม่มีการเรียนการสอน แต่เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 เวลา 13.00 น. 
ห้อง 223

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

                                                      วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2555

      วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่่องจากดิฉันเดินทางกลับบ้านวันแม่ แต่วันนี้อาจารย์สั่งงานทำสื่อในรูปแบบปฏิทินตั้งโต๊ะ โดยนำปฏิทินที่ไม่ได้ใช้แล้วมาทำเป็นสื่อที่เกิดประโยน์แก่น้องๆ รายละเอียดในการทำและการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ศุกร์หน้าให้ออกมานำเสนอผลงานของตนเอง 



วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

 วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555

ไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ เนื่องจากวันนี้ตรงกับวันเข้าพรรษา




   วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
     วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
     สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
     ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
     นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
     สำหรับในปี พ.ศ. 2552 นี้ วันเข้าพรรษาจะตรงกับ วันพุธที่ 8 กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
     ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
    เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าอนุญาตการจำพรรษาแก่พระสงฆ์

     ในสมัยก่อน การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในฤดูฝน มีความยากลำบาก และเป็นช่วงฤดูทำไร่นาของชาวบ้าน พระพุทธเจ้าจึงวางระเบียบให้พระสงฆ์หยุดการเดินทางเพื่อประจำอยู่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่งในช่วงฤดูฝนในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงวางระเบียบเรื่องการเข้าพรรษาไว้ แต่การเข้าพรรษานั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกปฏิบัติกันมาโดยปกติเนื่องด้วยพุทธจริยาวัตรในอันที่จะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะการคมนาคมมีความลำบาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ในช่วงต้นพุทธกาลมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นพระอริยะบุคคล จึงทราบดีว่าสิ่งใดที่พระสงฆ์ควรหรือไม่ควรกระทำ
     ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น และด้วยพระพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงบัญญัติพระวินัยล่วงหน้า ทำให้พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงบัญญัติเรื่องให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษาไว้ด้วย จึงเกิดเหตุการณ์กลุ่มพระสงฆ์ฉัพพัคคีย์พากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว

การเข้าพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก
     ตามพระวินัย พระสงฆ์รูปใดไม่เข้าจำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงปรับอาบัติแก่พระสงฆ์รูปนั้นด้วยอาบัติทุกกฏและพระสงฆ์ที่อธิษฐานรับคำเข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา" และต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำนั้น รวมทั้งพระสงฆ์รูปนั้นจะไม่ได้รับอานิสงส์พรรษา ไม่ได้อานิสงส์กฐินตามพระวินัย และทั้งยังห้ามไม่ให้นับพรรษาที่ขาดนั้นอีกด้วย
ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์
การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน


วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 27 กรกฎาคม 2555

     วันนี้อาจารย์ติดธุระ เลยให้อาจารย์บาสเป็นคนประเมินให้คะแนน อาจารย์บาสให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่ตัวเองได้รับหมอบหมาย จากนั้นอาจารย์ก็สรุปพฤติกรรมเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรบ้าง และประโยชน์ของนิทาน พร้อมกับคำแนะนำดีดี


          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือ
ที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดย รู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป
 เด็กอายุ 0 - 1 ปี
           นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และ เขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้ เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ลูกด้วย
 เด็กอายุ 2 - 3 ปี

              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควร เป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก
  หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และ ประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
             • ประโยชน์ ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหา และลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า






วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6


วันที่ศุกร์ที่  20 กรกฎาคม 2555



            อาจารย์สั่งงานโดยให้นักศึกษาจัดแบ่งกลุ่มออกเป็น 11 กลุ่มเพื่อที่จะไปเล่านิทานให้น้องที่สาธิตฟัง
และส่งตัวแทนออกมาจับฉลาก ซึ่งจะมี 
นิทานเล่มเล็กจะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3 และชั้นประถม1
นิทานเล่มใหญ่จะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3 และชั้นประถม1
VDO จะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 และอนุบาล3
         ให้แต่ละกลุ่มไปเล่นนิทานตามที่ตนจับฉลากได้ ไปเล่าให้น้องๆอยู่ในโรงเรียนสาธิตฟัง จากนั้นให้สังเกตุพฤติกรรมและให้จดบันทึกอย่างระเอียดเกี่ยวกับลักษณะท่าทางการแสดงออกทางภาษาของเด็ก และเมื่อเล่าจบให้ลองถามเด็กเกี่ยวกับนิทานที่เล่าให้ฟังเพื่อที่เราจะดูพัฒนาการของเด็ก หรือขณะที่เล่าอาจจะให้เด็กๆมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และนำผลที่ได้มาเสนอในสัปดาห์ต่อไป
          โดยกลุ่มของดิฉันได้ นิทานเล่มใหญ่เรื่อง  "มดน้อยอดออม" โดยเล่าให้น้องอนุบาล 2 ฟัง ซึ่งจะมีภาพบรรยากาศตอนเล่าด้านล่างนี้







วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5


วันที่ 13 กรกฎาคม 2555

      เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอพัฒนาการทางด้านภาษาของแต่ละช่วงวัยที่อาจารย์มอบหมายให้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งหมดมีอยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้

          กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 4 ขวบ 
          กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 3 ขวบ
          กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 2 ขวบ
          กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 6 ขวบ
          กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กอายุ 9-11 ขวบ

ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเเสนอ เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ
พัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ขวบ
        ภาษาพูดโดยเฉลี่ยของเด็กวัยนี้มักจะเป็นประโยคสั้นๆ หรือบางคนสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ คล้ายเล่าเรื่อง เนื่องจากเด็กพัฒนาการทางสังคมมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรค่อยๆ สอนให้ลูกรู้จักการใช้ภาษาพูดหรือวิธีการสื่อสารกับผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม เช่น การพูดทักทาย พูดบอกความต้องได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ขอเล่นด้วย หรือแม้แต่บอกปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ต้องการ กล่าวขอบคุณ หรือขอโทษ เป็นต้น แม้เขาจะยังไม่เข้าใจนัก แต่จะช่วยให้มีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี
อายุ 2 ขวบ
    เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
นอกจากนี้ เริ่มพูดคำ 2 คำเชื่อมต่อกัน ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการด้านไวยากรณ์ของภาษา
พัฒนาการของการพูดเป็นคำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในระยะ 1 ½ 2 ปี นั่นคือประมาณ 100-200 คำ
เด็กส่วนใหญ่จะสามารถพูดคุยรู้เรื่องแล้ว  พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาของเด็กจะมีความเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงสามารถเข้าใจคำสั่งยาวๆ ที่มากกว่า 1 ขั้นตอนได้ 






วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

      วันศุกร์ ที่ 6 กรกฎาคม 2555


           วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำงานไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม
แล้วกลับมานำเสนอในวันศุกร์หน้า ให้นักศึกษาทุกกลุ่มเตรียมพร้อม ว่างานนั้นต้องเพิ่มอะไรบ้าง
หาจุดเด่นให้กับงานตัวเอง ทำให้เพื่อนสนใจและสะดุดตา

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

               วันศุกร์ ที่ 29 มิถุนายน 2555

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์จินตนามอบหมายงานให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม
ไปค้นคว้ารายละเอียดเรื่องที่ตัวเองได้รับไปทำรายงาน
และนำเสนอในวันศุกร์หน้า